Tuesday, June 19, 2018

เกตเวย์ (Gateway)

เกตเวย์ Gateway


ความหมายของ เกตเวย์ Gateway

เกตเวย์ Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ เกตเวย์ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ เกตเวย์ gateway
ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ เกตเวย์ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ เกตเวย์ gateway ยังรวมถึง router และ switch

ลักษณะการทำงานของ เกตเวย์ Gateway

เกตเวย์ Gateway เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น
เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้
เกตเวย์ Gateway,เป็นประตูสื่อสาร ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “บริดจ์” (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง



gateway-ssanetwork-

เกตเวย์ Gateway จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถมากที่สุดคือสามารถเครือข่ายต่างชนิดกันเข้าด้วยกันโดยสามารถเชื่อมต่อ LAN ที่มีหลายๆโปรโตคอลเข้าด้วยกันได้ และยังสามารถใช้สายส่งที่ต่างชนิดกัน ตัว เกตเวย์(Gateway) จะสามารถสร้างตาราง ซึ่งสารารถบอกได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่ภายใต้ เกตเวย์(Gateway) ตัวใดและจะสามารถปรับปรุงข้อมูลตามเวลาที่ตั้งเอาไว้
เกตเวย์Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ เกตเวย์(Gateway) และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ เกตเวย์gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ เกตเวย์(Gateway) มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ เกตเวย์(Gateway) ยังรวมถึง router และ switch
เกตเวย์(Gateway)เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของ เกตเวย์(Gateway) คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือลักษณะของการเชื่อมต่อ( Connectivity ) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัน และมีโปรโตคอลสำหรับการส่ง – รับ ข้อมูลต่างกัน เช่น LAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และใช้โปรโตคอลแบบอะซิงโครนัสส่วน LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โปรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อจำกัดวงให้แคบลงมา เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง – รับข้อมูลกันระหว่างLAN 2เครือข่ายหรือ LAN กับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่าง LAN กับ WAN โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะเช่น X.25แพ็คเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์ หรือเครือข่ายทางไกลอื่น ๆ



gateway-ssanetwork-3

เกตเวย์(Gateway) เป็นเหมือนนักแปลภาษาที่ทำให้เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้ หากโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลของเครือข่ายทั้งสองไม่เหมือนกันเกตเวย์ ก็จะทำหน้าที่แปลงโปรโตคอลให้ตรงกับปลายทางและเหมาะสมกับอุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ที่แต่ละเครือข่ายใช้งานอยู่นั้นได้ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์เกตเวย์จึงมีราคาแพงและขั้นตอนในการติดตั้งจะซับซ้อนที่สุดในบรรดาอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมด
ในการที่ เกตเวย์(Gateway) จะสามารถส่งข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้อย่างถูกต้องนั้น ตัวของ เกตเวย์(Gateway) เองจะต้องสร้างตารางการส่งข้อมูล หรือที่เรียกว่า routing table ขึ้นมาในตัวของมัน ซึ่งตารางนี้จะบอกว่าเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่เครือข่ายใด และอยู่ภายใต้เกตเวย์อะไร ตารางนี้จะมีการปรับปรุงข้อมูลทุกระยะ สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์อาจจะรวมเอาฟังก์ชันการทำงานที่เรียกว่า Firewall ไว้ในตัวด้วย ซึ่ง Firewall เป็นเหมือนกำแพงที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายของบริษัท เข้ามาเชื่อมต่อลักลอบนำข้อมูลภายในออกไปได้  (Cr:mahidol.ac.th,blogspot/เครือข่ายคอมพิวเตอร์)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gateway คือ


iot-gateway-ssanetwork

Monday, June 18, 2018

โปรโตคอล

โปรโตคอล
โปรโตคอลคือชุดของกฎสำหรับรูปแบบข้อความและโพรซีเดอร์ ที่อนุญาตให้เครื่องและแอ็พพลิเคชันโปรแกรมแลกเปลี่ยนข้อมูล กฎเหล่านี้ต้องเป็นไปตามเครื่องแต่ละเครื่องที่เกี่ยวข้องในการสื่อสาร เพื่อให้โฮสต์การรับสามารถเข้าใจข้อความนั้นๆ ชุด TCP/IP ของโปรโตคอลสามารถเข้าใจได้ในรูปของ เลเยอร์ (หรือระดับ)
รูปภาพนี้แสดงเลเยอร์ของโปรโตคอล TCP/IP จากด้านบนสุด ประกอบด้วย Application Layer, Transport Layer, Network Layer, Network Interface Layer และ Hardware
รูปที่ 1. ชุด TCP/IP ของโปรโตคอล
ชุด TCP/IP ของโปรโตคอล
TCP/IP กำหนดวิธีการย้ายข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับอย่างระมัดระวัง อันดับแรก แอ็พพลิเคชันโปรแกรมส่งข้อความ หรือสตรีม ข้อมูลของ Internet Transport Layer Protocols หนึน่ง ซึ่งอาจเป็น User Datagram Protocol (UDP) หรือ Transmission Control Protocol (TCP) โปรโตคอลเหล่านี้จะได้รับข้อมูลจาก แอ็พพลิเคชัน จากนั้นแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า แพ็กเก็ต เพิ่มแอดเดรสปลายทาง และจากนั้นส่งแพ็กเก็ตไปยัง เลเยอร์โปรโตคอลถัดไป คือเลเยอร์ Internet Network
เลเยอร์ Internet Network layer รวมแพ็กเก็ตให้อยู่ในดาตาแกรม Internet Protocol (IP) วางในส่วนหัวและส่วนท้ายของ ดาตาแกรม ตัดสินใจว่าจะส่งดาตาแกรมไปที่ใด (ไปยังปลายทางโดยตรง หรือไปยังเกตเวย์) และส่งดาตาแกรมต่อไปยัง เลเยอร์ Network Interface
เลเยอร์ Network Interface ยอมรับดาตาแกรม IP และส่ง เป็นแบบ เฟรม บนฮาร์ดแวร์เน็ตเวิร์กที่เจาะจง เช่นเน็ตเวิร์ก Ethernet หรือ Token-Ring
รูปที่ 2. การย้ายข้อมูลจากแอ็พพลิเคชันผู้ส่งไปยัง โฮสต์ผู้รับ
การย้าย ข้อมูลจากแอ็พพลิเคชันผู้ส่งไปยังโฮสต์ผู้รับ
รูปภาพนี้แสดงโฟลว์ของข้อมูลลงไปถึงเลเยอร์โปรโตคอล TCP/IP จากผู้ส่งไปยังโฮสต์
เฟรมที่โฮสต์ได้รับจะส่งไปยังเลเยอร์โปรโตคอลในทางตรงกันข้าม แต่ละเลเยอร์จะถอดข้อมูลส่วนข้องที่เกี่ยวข้องออก จนกระทั่ง เหลือเฉพาะข้อมูลที่ส่งกลับไปยังเลเยอร์แอ็พพลิเคชัน
รูปที่ 3. การย้ายข้อมูลจากโฮสต์ไปยังแอ็พพลิเคชัน
การย้ายข้อมูลจากโฮสต์ไปยังแอ็พพลิเคชัน
รูปภาพนี้แสดงโฟลว์ของข้อมูลขึ้นไปถึงเลเยอร์โปรโตคอล TCP/IP จากโฮสต์ไปยังผู้ส่ง
เฟรมที่เลเยอร์ Network Interface ได้รับ (ในกรณีนี้ คืออะแด็ปเตอร์ Ethernet) เลเยอร์ Network Interface ถอดส่วนหัว Ethernet ออก และส่งดาตาแกรมขึ้นไปยังเลเยอร์ Network ในเลเยอร์ Network Internet Protocol ถอดส่วนหัว IP ออก และส่ง แพ็กเก็ตขึ้นไปยังเลเยอร์ Transport ในเลเยอร์ Transport นั้น TCP (ใน กรณีนี้) จะถอดส่วนหัว TCP ออก และส่งข้อมูลขึ้น ไปยังเลเยอร์ Application
โฮสต์บนเน็ตเวิร์กจะส่งและรับข้อมูลพร้อมๆ กัน รูปที่ 4 แสดงโฮสต์ ได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้นขณะที่สื่อสาร
รูปที่ 4. การส่งและการรับ ข้อมูลโฮสต์
การส่งและการรับ ข้อมูลโฮสต์
รูปภาพนี้แสดงการโฟลว์ข้อมูลทั้งสองทางผ่านเลเยอร์ TCP/IP

TCP/IP
TCP/IP คืออะไร
      การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ 

TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address 


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.ongitonline.com
http://www.bloggang.com
http://www.kmitl.ac.th
http://www.it-guides.com